เสาหลักใหม่ของเศรษฐกิจไทย กับแร่โพแทช

 

                ตามรายงานสื่อข่าวของประเทศไทยเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2560 ประเทศไทยจัดได้ว่าตั้งอยู่ในภูมิศาสตร์ที่ดีเยี่ยม และเนื่องด้วยการรักษาเสถียรภาพของประเทศอันยาวนาน บวกกับทัศนคติที่ดีทางด้านทหาร ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสเติบโตได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าอุตสาหกรรมการส่งออกสินค้าทางการเกษตร และการท่องเที่ยวของไทยจะได้รับผลดีจากการสนับสนุนของนักท่องเที่ยวชาวเอเชียตะวันออกและรัสเซีย แต่เนื่องด้วยการก้าวเข้าสู่การรวมกลุ่มอาเซียน ดังนั้นประเทศไทยจึงจำเป็นต้องหาเสาเศรษฐกิจใหม่เพิ่มขึ้น

ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ประเทศไทยยังคงอยู่ในช่วงยุคเกษตรกรรม โดยรายได้หลักของประเทศกว่า 80% ล้วนมาจากภาคเกษตรกรรม ซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศไทยของยุคนี้มุ่งเน้นไปที่ภาคการส่งออกสินค้าทางการเกษตร

ในช่วงปลายศตวรรษที่ผ่านมา สภาพเศรษฐกิจไทยอยู่ในสภาวะเป็นที่น่าพอใจ ทั้งในด้านราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ทั้งนี้เพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุน จึงผลักดันยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศ อีกทั้งยังผ่อนปรนการควบคุมโยบายทางด้านเศรษฐกิจ และค่อยๆเปิดเสรีทางด้านการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น อันจะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเนื่องจากวิกฤตทางการเงินทั่วโลก อีกทั้งปัจจัยทางการเมืองภายในประเทศ และผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทางการตลาด จึงส่งผลให้สินค้าทางการเกษตรซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ในเวลาเดียวกันราคาพลังงาน และต้นทุนแรงงานก็เพิ่มขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานของไทยมีความกดดันมากขึ้น และเนื่องด้วยการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ประเทศไทยจำเป็นจะต้องเปิดภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น ดังนั้นการหวังพึ่งพาแต่อุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียวคงไม่พอเป็นแน่

                ด้วยเหตุนี้การหันมาให้ความสนใจอุตสาหกรรมด้านทรัพยากรจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง กล่าวถึง“โครงการขุดคอคอดกร” ที่อุดมไปด้วยแหล่งแร่โพแทช ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถผลักดันให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้  เนื่องจากโพแทชเป็นแร่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดระหว่างประเทศ จึงเป็นที่น่าดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนมากขึ้น แต่เนื่องจากความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศไทย และกฎหมายที่ไม่เอื้ออำนวย ทำให้การลงทุนด้านแหล่งแร่โพแทชในประเทศไทยถูกขัดขวาง

                แต่เมื่อไม่นานมานี้รัฐบาลได้แก้ไขกฎหมายเหมืองแร่ของไทย และสนับสนุนการพัฒนาการทำเหมืองโพแทช ซึ่งกฎหมายเหมืองแร่ที่ได้แก้ไขใหม่นี้ จะสามารถช่วยผลักดันการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของโปแตสเซียมที่มีในประเทศไทยได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งยังเอื้ออำนวยต่อนักลงทุนอีกด้วย

 

 

  อัตราความต้องการแร่โพแทช

                การกระจายตัวของแหล่งผลิตแร่โพแทชในโลกถือว่าอยู่อัตราที่ค่อนข้างแคบ สำหรับการกำหนดราคาการค้าแร่โพแทชระหว่างประเทศ เป็นการตกลงร่วมกันระหว่างกลุ่มองค์กรทางการค้า และเนื่องด้วยการกระจายตัวในอัตราที่แคบของแหล่งแร่โพแทช จึงทำให้ไม่สามารถออกจากการแข่งขันทางการตลาดแบบผูกขาดได้

                ในขณะเดียวกัน เนื่องจากมีการปฏิรูปภาคการเกษตรของจีน เกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยมากขึ้น จึงทำให้เกิดสภาวะขาดแคลนแร่โปแตช และนำไปสู่ระบบการค้าแบบผูกขาดในที่สุด

                ปัจจุบันนี้แหล่งแร่โพแทสเซียมของจีนไม่เพียงต่อความต้องการ ในปี 2553 กระทรวงททรัพยากรได้ประกาศให้แร่โปแทชเป็นหนึ่งในแปดแร่ธาตุสำคัญ ๆ ในจีนที่กำลังขาดแคลน ปริมาณสำรองแร่โพแทชของจีนมีเพียง 2.36% ของปริมาณสำรองทั้งหมดของโลก แหล่งแร่โพแทชของประเทศจีนส่วนใหญ่มีการกระจุกตัวอยู่ที่ทะเลสาบชิงไห่ มณฑลชิงไห่และทะเลสาบหลัวปู้พอ มณฑลซินเจียง แต่เนื่องด้วยการพัฒนาที่ก้าวกระโดด จึงทำให้ประมาณแร่ที่มีอยู่อย่างจำกัดไม่เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ

                กล่าวได้ว่าประเทศจีนเป็นประเทศที่มีฐานประชากรขนาดใหญ่ ดังนั้นการเพิ่มผลผลิตด้านอาหารและเงินสำรองจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำงานของรัฐบาล อาหารไม่ได้เป็นเพียงสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่ยังถูกยกขึ้นให้เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ ในการสร้างรากฐานที่มั่นคงของชาติ

                นักวิจัยด้านยุทธศาสตร์แห่งชาติจีนเชื่อว่า แร่โพแทชจะเป็นแหล่งปริมาณสำรองของพืชพันธุ์ธัญหาร ไม่ว่าจะเป็น ยาสูบ น้ำตาล  ผักหรือผลไม้ล้วนจำเป็นต้องใช้แร่โพแทช ซึ่งปริมาณโพแทชกว่า 50% มาจากการนำเข้า และเนื่องจากราคาโพแทชที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้เกษตรกรจำเป็นต้องเพิ่มต้นทุนการผลิต ซึ่งนี่คือผลกระทบลูกโซ่ที่ตามมา

                ตามสถิติล่าสุดของนิตยสารอุตสาหกรรมประเทศจีน ในหัวข้อ “อุตสาหกรรมแร่โพแทชประเทศจีน” พบว่าในปี 2014 มีการนำเข้าแร่โพแทชกว่า 8,155,400 ตัน แต่มีปริมาณการส่งออกเพียง 387,034 ตัน ในส่วนของการนำเข้าโพแทชเซียมคลอไรด์มีจำนวน 8,031,600 ตัน ส่งออก 310,800 ตัน แร่โพแทสเซียมซัลเฟต มีการนำเข้า 54,900 ตัน ส่งออก 62,740 ตัน และมีการนำเข้าโพแทสเซียมไนเตรทที่ใช้ทางการเกษตร 28,900 ตัน ส่งออก 13,800 ตัน

                ไม่ใช่เพียงแค่ประเทศจีนเท่านั้นที่มีความต้องการแร่โพแทชในปริมาณสูง ในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เองก็มีความต้องการในปริมาณที่สูงเช่นกัน เนื่องจากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาทางด้านเกษตรกรรม ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ปริมาณความต้องการแร่โปแทชเพิ่มมากขึ้น ในปี 2011 ประเทศไทยเองก็มีการนำเข้าแร่โพแทชจำนวนถึง 5 ล้านตัน โดยประเทศไทยนำเข้าแร่โพแทชหลักๆจากประเทศแคนนาดา ซึ่งในปัจจุบันก็มีอีกส่วนหนึ่งที่นำเข้าจากประเทศลาว  แต่เนื่องจากความไม่สะดวกทางด้านการคมนาคมของประเทศลาว ผนวกกับการผลิตที่ไม่ค่อยได้คุณภาพ ดังนั้นจึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก

 

  รัฐบาลเปิดกว้างการทำเหมืองแร่โปแตช

หลังจากที่รัฐบาลชุดใหม่เข้ามามีบทบาท เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย จึงได้แก้ไขสถานการณ์การนำเข้าแร่โพแทช และได้ปรับเปลี่ยนกฎหมายแร่ใหม่

                ประเทศไทย ในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดสกุลนครจัดได้ว่าเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยแร่โปแทช จึงกลายเป็นพื้นที่ที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนชาวจีน  ประเทศไทยเองก็มีความต้องการและยินดีที่จะร่วมมือกับประเทศจีนในการพัฒนาแหล่งแร่โปแทช

                เนื่องจากประเทศจีนอยู่ในสภาวะขาดแคลนทรัพยากรทางแร่โพแทช ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรธรรมชาติของต่างประเทศ เพื่อสร้างฐานผลิตแร่โพแทชเป็นของตัวเอง ทั้งนี้การพัฒนาแหล่งทรัพยากรโพแทชในประเทศไทยก็ได้ถูกประเทศจีนนำมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนด้านแหล่งทรัพยากรจากต่างประเทศ ปัจจุบันมีบริษัทผู้ร่วมทุนของประเทศจีนอาทิเช่นบริษัท ไชน่า หมิงต๋า โปแตช คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัดและ บริษัท โรงปัง ไมนิง จำกัดได้รับรับอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่โปแตชรแล้ว ตามข้อมูลที่ได้รับ ทราบว่าขณะนี้กระทรวงอุตสาหกรรมของไทยเองก็กำลังเร่งดำเนินการอนุมัติอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่โปแทชให้แก่บริษัทอื่นๆ ทั้งนี้คาดว่ามีมากกว่า 10 บริษัทที่ได้ดำเนินการยื่นคำขอเข้ามา

 

ปัจจุบันโครงการสำรวจแร่โปแทชที่ได้รับอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่โปแตชจากกระทรวงอุตสาหกรรมมีดังนี้ บริษัทไชน่า หมิงต๋า โปแตช คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัดผู้ได้รับอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่โปแตชในพื้นที่ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร จำนวน 120,000 ไร่ รวมทั้งหมด 12 แปลง บริษัท โรงปัง ไมนิง จำกัด พื้นที่ 4 แปลง 40,000 ไร่ ในเขตพื้นที่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา และเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรมได้อนุมัติอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่โปแตช ที่มีพื้นที่สำรวจขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยคือ บริษัท ปิโตรเลียมอินเตอร์เนชั่นแนลปิโตรเลียม กรุ๊ป จำกัด ตั้งอยู่ในพื้นที่ อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา จำนวน 13 แปลง พื้นที่ 130,000 ไร่

                โพแทชเป็นวัตถุดิบที่สำคัญที่สุดในการผลิตปุ๋ย แต่เนื่องด้วยการพัฒนาเหมืองแร่และเทคโนโลยีของไทยที่ล้าหลัง ไม่มีหน่วยงานวิจัย แต่ในขณะเดียวกันประเทศจีนกลับมีความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีการแปรรูปแร่โพแทชที่ทันสมัย ด้วยเหตุนี้เพิ่ลดการนำเข้าแร่โพแทช ประเทศไทยจึงสนับสนุนให้ บริษัทจากประเทศจีนเข้ามาสำรวจและผลิตแร่โพแทชในประเทศไทย 

                ทั้งนี้ประเทศไทยเองก็มีข้อได้เปรียบในเรื่องของสาธารณูปโภคไม่ว่าจะเป็นน้ำ ไฟ การคมนาคมที่เข้าถึงง่ายทั้งทางรถไฟ ทางถนน หรือท่าเรือ ซึ่งหลังจากการสำรวจเสร็จสิ้นแล้วถ้าคิดว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาในเชิงพาณิชย์ ก็สามารถที่จะดำเนินการยื่นขอประธานบัตรเพื่อขออนุญาตทำเหมืองแร่ต่อไปได้ จากนั้นประเทศไทยก็จะสามารถผลิตโพแทชได้เอง และในอนาคตราคาปุ๋ยของประเทศไทยก็จะสามารถลดลงได้ถึง 10% ขณะเดียวกันก็ยังสามารถตอบสนองความต้องแร่โพแทชของประเทศของจีนได้อีกด้วย

 

  จุดเริ่มต้นใหม่ของการลงทุนในประเทศไทย

                ในประเทศไทย จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่มีแหล่งแร่โพแทชที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด ในศตวรรษที่ 20 ปี ค.ศ.1950 และต้นปี ค.ศ.1970 สำนักงานทรัพยากรของประเทศไทยร่วมมือกับนักธรณีวิทยาสหรัฐฯ ขุดสำรวจพบแร่โพแทสเซียมและแมกนีเซียม ที่จังหวัดอุดรธาณี และหลังจากนั้นก็มีการบุกเบิกไปยังพื้นที่อื่นๆไม่ว่าจะเป็น อ.บำเหน็จณรงค์- จ.ชัยภูมิ อ.จักราช-จ.นครราชสีมา อ.บ้านทุ่ม จ.ขอนแก่น บ.ประคำ-จ.บุรีรัมย์ อ.นาเชือก-จ.มหาสารคาม และพื้นที่อื่นๆอีกมากมาย จากการสำรวจขุดเจาะในหลายพื้นที่ ทำให้ทราบถึงปริมาณสำรองแร่โพแทชที่ขุดได้มากที่สุดมีจำนวนมากถึง 1,000 ล้านตัน ความหนาสูงสุดที่ขุดได้มีความหนาถึง 243 เมตร

                และเมื่อเปรียบเทียบการทำเหมืองแร่โพแทชระหว่างของประเทศไทยและประเทศลาว สามารถเห็นได้ชัดว่าของไทยมีข้อได้เปรียบที่มากกว่า ซึ่งพื้นที่แร่โพแทชทั้งหมดของไทยประกอบจะไปด้วยชั้นเกลือโพแทสเซียม และคาร์นัลไลต์ โดยพื้นที่มีความโน้มเอียงเพียงแค่ 10 องศา ความสูงของพื้นผิวแร่ 150-4500 px เป็นที่ราบ เหมาะสำหรับการขุดเจาะหรือทำเหมืองแร่

แร่โพแทชในไทยจัดว่าอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ ซึ่งแร่ที่ประเทศลาวส่วนมากจะอยู่ที่บริเวณขอบแอ่ง ทำให้มีคุณภาพค่อนข้างต่ำ นองจากนี้ประเทศไทยมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสาธารณูปโภคที่ดี มีแหล่งทรัพยากรน้ำที่อุดทสมบูรณ์ ในขณะเดียวกันประเทศไทยยังมีข้อได้เปรียบด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ การคมนาคมก็สะดวก ดังนั้นการสร้างเหมืองแร่ในจ.นคคราชสีมาสามารถเข้าถึงได้ทั้งทางรถไฟและท่าเรือ  ซึ่งมีต้นทุนการขนส่งที่ต่ำ ในขณะที่สภาพการคมนาคมในประเทศลาวไม่ค่อยสะดวกนัก ด้านโลจิสติกส์และอุตสาหกรรมอื่น ๆก็ยังค่อนข้างล่าสมัย เหมาะสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดเล็ก

                สภาพแวดล้อมทางการลงทุนของประเทศไทยก็ดีกว่าประเทศลาว ปรเทศไทยไม่เพียงแต่ได้รับการสนับสนุนที่ดีจากรัฐบาล แต่ยังมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนสำหรับประเทศจีนเป็นพิเศษอีกด้วย เห็นได้ชัดว่าในอนาคตรัฐบาลไทยให้การสนับสนุนการลงทุนและพัฒนาในด้านอุตสาหกรรมโพแทชเป็นอย่างมาก ตามแผนการโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลไทยล่าสุด ในอนาคตรัฐบาลจะมุ่งเน้นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งออกทรัพยากรแร่ของไทย

                ปัจจุบันในประเทศไทยมีผู้ประกอบกิจการจำนวนหนึ่งในประเทศจีน อาทิเช่นธุรกิจเกี่ยวกับแร่ธาตุ การจัดจำหน่ายอุปกรณ์ การขนส่ง หรือการให้บริการด้านธนาคารและอื่นๆอีกมากมาย ขณะเดี่ยวกันการที่บริษัทจีนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยนั้นก็ถือได้ว่าเป็นการพัฒนาร่วมกัน อันจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่นโยบายส่งเสริมการลงทุนของภาคธุรกิจจีนในต่างประเทศ

                ปัจจุบันกระแสการลงทุนในด้านทรัพยากรมีความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจการทำเหมืองโพแทชได้กลายเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการลงทุนในประเทศไทย นักเศรษฐศาสตร์ของประเทศไทยเชื่อว่าในอนาคตอีกไม่กี่ปี ภายใต้การสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลจะทำให้มีเงินลงทุนในธุรกิจเหมืองแร่โพแทชของไทยเพิ่มมากขึ้น

                ในขณะเดียวกันประเทศจีนเองก็มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการมาลงทุนในประเทศไทยเช่นกัน เนื่องจากประเทศไทยมีเงื่อนไขต่างๆที่ค่อนข้างยุ่งยากและซับซ้อนไม่ว่าจะเป็นในด้านกฎหมายหรือนโยบาย ดังนั้นจะเป็นการดีที่สุดหากเลือกลงทุนร่วมกับบริษัทในไทยที่ได้รับสิทธิในการสำรวจแล้ว เพราะถ้าหากไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจของไทย และไปดำเนินการยื่นขออาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่โปแตชก็อาจจะพบกับปัญหาในการดำเนินงานเป็นแน่ และเวลาที่ใช้ในการดำเนินการยื่นขออาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่โปแตชนั้นไม่สามารถกำหนดได้อย่างแน่นอน อาจจะนำมาซึ่งความเสี่ยงที่คาดไม่ถึงต่อธุรกิจ

สรุปได้ว่าการที่รัฐบาลเปิดกว้างในการลงทุนด้านธุรกิจเหมืองแร่โพแทชนั้น ก็เพื่อจะสร้างกลไกการเติบโตทางเศรษฐกิจใหม่สำหรับประเทศไทย ซึ่งแหล่งแร่โพแทชที่อุดมสมบูรณ์ของไทยจะเป็นตัวช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้น อีกทั้งยังเชื่อว่าในอนาคตประเทศไทยจะสามารถทำลายการผูกขาดของตลาดแร่โพแทชที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ได้ และมีสิทธิที่กำหนดราคาแร่โพแทชระหว่างประเทศ ดังนั้นการเปิดกว้างด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมแร่โพแตชนั้น ถือได้ว่าเป็นการเปิดโอกาสให้แก่นักลงทุนในอนาคต อันจะส่งผลดีอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นผลตอบแทนจากการลงทุนแบบดั้งเดิมที่ลดลง เพิ่มสถียรภาพมากขึ้น ลดความเสี่ยงในการลงทุน และสามารถสร้างผลกำไรได้อย่างยั่งยืน กล่าวได้ว่าการพัฒนาอุตสากรรมด้านทรัพยากรจะกลายเป็นจุดเริ่มต้นใหม่ของการลงทุนในประเทศไทยก็ว่าได้

               

13 กันยายน 2560

ผู้ชม 525 ครั้ง

Engine by shopup.com